เกี่ยวกับเรา
บุคลากร
ติดต่อ:
อีเมลกองบรรณาธิการ: pratujournal@soas.ac.uk
ที่อยู่:
กองบรรณาธิการวารสารประตู – Pratu Editorial Team
℅ SAAAP Project Manager, Room 239
SOAS University of London
Thornhaugh Street, Russell Square
London, WC1H 0XG
UK
กองบรรณาธิการ:
ปังกาห์ อาร์ดียานชาห์ (Panggah Ardiyansyah)
อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล (Udomluck Hoontrakul)
เยวียน เหวียน (Duyen Nguyen)
โซเนตรา เซ็ง (Sonetra Seng)
ไฮดี ตัน (Heidi Tan)
เบน เรย์ฟอร์ด (Ben Wreyford)
คณะที่ปรึกษา:
แอชลีย์ ธอมป์สัน (Ashley Thompson), ประธานตำแหน่งฮีแรม ดับเบิลยู. วูดวาร์ด ด้านศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี
คริสเตียน ลูซานิทส์ (Christian Luczanits), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตำแหน่งเดวิด แอล. สเนลโกรฟ ด้านศิลปะธิเบตและพุทธศิลป์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี
คริสปิน แบรนฟุต (Crispin Branfoot), รองศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีเอเชียใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี
นโยบาย
๑. ความสนใจและขอบเขต
ทางวารสารตั้งใจเผยแพร่งานวิจัยต้นฉบับ (original research) ที่จะช่วยพัฒนาความเข้าใจและส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะและสถาปัตยกรรมเนื่องในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงยุคก่อนสมัยใหม่ โดยทางวารสารยินดีต้อนรับผลงานและการเข้ามามีส่วนร่วมของนักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีความสนใจตรงกับขอบเขตความสนใจของ SAAAP ซึ่งครอบคลุมการศึกษาสภาพแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้น งานประติมากรรม ภาพเขียน ภาพประกอบจารึก สิ่งทอ และภาพแทนทั้งที่จับต้องได้ (tangible representation) หรือ สื่อทางสายตา (visual representation) รวมถึงหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวข้องกับวัตถุเหล่านี้ และมรดกทางโบราณคดี พิพิธภัณฑ์ และวัฒนธรรม
วารสารประตูยังตั้งใจเผยแพร่ทั้งบทความและรายงานภาคสนามผสมผสานสับเปลี่ยนกันไป โดยจัดกลุ่มเป็นเล่มประจำปี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาษาหลักของวารสารจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ทางวารสารก็สนับสนุนการส่งผลงานในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังพยายามที่จะจัดเตรียมการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ การแปลภาษา และการบรรณาธิกรสำหรับบทความเหล่านี้ โดยบทความภาษาต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะถูกเผยแพร่ทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาอังกฤษ
๒. ขั้นตอนการพิจารณาโดยผู้ประเมิน (peer review)
การพิจารณาโดยผู้ประเมิน เป็นวิธีการประเมินบทความโดยนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยนั้นๆ ก่อนที่จะเผยแพร่ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าบทความที่ทางวารสารเผยแพร่นั้นมีคุณภาพ มีความคิดริเริ่มเป็นต้นฉบับ มีความเชื่อมโยงกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และมีสร้างคุณูปการต่อสาขาวิชา โดยการประเมินนี้จะให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์แก่ผู้เขียน รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขหากจำเป็น
หลังจากที่กองบรรณาธิการได้ประเมินความเกี่ยวข้องของร่างบทความกับความสนใจและขอบเขตของวารสารแล้ว (ดูรายละเอียดด้านบน) บทความนั้นอาจจะ ถูกปฏิเสธ (และร้องขอให้ส่งใหม่) หรือส่งไปให้ผู้ประเมินบทความตรวจสอบต่อไปทางใดทางหนึ่ง
การพิจารณาโดยผู้ประเมินจะมีลำดับการดำเนินการในสองขั้นตอน:
๑. กองบรรณาธิการติดต่อนักวิชาการที่เหมาะสมอย่างน้อย ๒ คนเพื่อทำการพิจารณา โดยที่ผู้เขียนและผู้ประเมินทั้งสองไม่เปิดเผยตัวตนและไม่รู้จักกัน (double-blind peer review) โดยผู้ประเมินจะพิจารณาจากหัวข้อ ดังนี้:
- ความเป็นต้นฉบับ (originality)
- ความเข้าใจต่อวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (understanding of relevant literature)
- ระดับของความเป็นวิชาการ (level of scholarship)
- การมีส่วนร่วมและสนับสนุนต่อสาขาวิชา (contribution to the field)
- ความชัดเจน รูปแบบ และการนำเสนอ (clarity, style and presentation)
จากนั้นผู้ประเมินจะตัดสินผลการประเมินหนึ่งแนวทางจากห้าแนวทาง ประกอบไปด้วย ๑) ยอมรับ ๒) ยอมรับพร้อมการแก้ไขเล็กน้อย ๓) ยอมรับพร้อมการแก้ไข ๔) ปฏิเสธ และ ๕) ปฏิเสธและแนะนำสำนักพิมพ์อื่น โดยการยอมรับพร้อมการแก้ไขเพื่อส่งบทความใหม่อีกครั้งนั้นเป็นเรื่องปกติที่มักเกิดขึ้น กองบรรณาธิการจึงสนับสนุนผู้เขียนให้ยอมรับแนวทางนี้ โดยทางวารสารจะจัดเตรียมคำแนะนำและความคิดเห็นของผู้พิจารณาในรูปแบบที่ง่ายต่อการแก้ไข เพื่อให้ผู้เขียนสามารถติดตามและจัดการการแก้ไขแต่ละรายการได้อย่างสะดวก
๒. กองบรรณาธิการจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้เขียนหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประเมิน และทำการตรวจสอบก่อนที่จะตอบรับตีพิมพ์บทความอย่างเป็นทางการ (แก้ไข จัดหน้าพิมพ์ และตีพิมพ์บทความ) โดยผู้ประเมินอาจใช้เวลาถึง ๖ สัปดาห์เพื่อประเมินบทความ เนื่องจากผู้ประเมินนั้นรับอาสาประเมินบทความให้โดยไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ ดังนั้นเราจึงขอให้ผู้เขียนเข้าใจในขั้นตอนเหล่านี้หากต้องการให้มีการตีพิมพ์งานอย่างรวดเร็ว ซึ่งปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ ๔ ถึง ๖ สัปดาห์ขึ้นอยู่กับขอบเขตของการแก้ไขบทความ
๓. นโยบายด้านการเข้าถึงอย่างเสรีและลิขสิทธิ์
วารสารประตูให้บริการเนื้อหาที่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการวิจัย การเรียนการสอน และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับโลก โดยการสนับสนุนของวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน ตามนโยบายการเข้าถึงอย่างเสรี (Open Access)
บทความในวารสารอยู่ภายใต้การคุ้มครองของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอมมอนส์ หรือ Creative Commons Attribution License (CC BY-NC 4.0) ซึ่งส่งผลให้เนื้อหาทั้งหมดสามารถเผยแพร่ คัดลอก และแจกจ่ายซ้ำในสื่อรูปแบบใดก็ได้ โดยอาจมีกรณียกเว้น สำหรับภาพประกอบให้ดูคำอธิบายภาพแต่ละภาพเพื่อตรวจสอบสถานะลิขสิทธิ์ โดยภาพที่มีสัญลักษณ์ลิขสิทธิ์ © นั้นไม่จัดอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟ คอมมอนส์ และไม่สามารถทำซ้ำได้อีกหากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/
ทางวารสารประตูขอให้ผู้เขียนบทความยอมรับข้อกำหนดต่อไปนี้:
- ผู้เขียนบทความจะยังคงรักษาสิทธิ์ในผลงานของตน ในขณะที่วารสารประตูมีสิทธิ์เผยแพร่ผลงานภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอมมอนส์ โดยผู้อื่นสามารถเผยแพร่ผลงานได้โดยรับทราบถึงผู้เขียนและการเผยแพร่ครั้งแรกกับวารสารประตู
- ผู้เขียนสามารถเผยแพร่ผลงานฉบับนี้ที่อื่น แต่จะต้องรับทราบการเผยแพร่ครั้งแรกกับวารสารประตู โดยผู้เขียนควรแจ้งให้ทางวารสารทราบถึงความตั้งใจที่จะเผยแพร่ผลงานซ้ำ
- ผู้เขียนสามารถเผยแพร่ (post) ผลงานฉบับที่ผ่านการอนุมัติโดยวารสารประตูไว้ในแหล่งเผยแพร่ออนไลน์อื่นในระหว่างขั้นตอนการส่งบทความได้ เช่น ฐานข้อมูลของสถาบัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้และการอ้างอิงเพิ่มเติม (แต่มิใช่การตีพิมพ์เผยแพร่ก่อนวารสารประตู)
ข้อกำหนดเหล่านี้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ Open Library of Humanities: https://www.openlibhums.org/site/about/
๔. คำประกาศรับรองของผู้เขียน
ขอบข่ายในการเผยแพร่ผลงานของเรากำหนดให้ผู้เขียนรับรองว่า ผู้เขียนไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการเผยแพร่กับวารสารประตู และงานวิจัยของผู้เขียนไม่ควรได้รับการสนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบขุด ปล้นสะดม หรือทำลายแหล่งโบราณคดีและมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีนัยยะสำคัญ รวมทั้งการค้าขายแลกเปลี่ยนโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ได้มาอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องส่งสำเนาแบบฟอร์มคำประกาศรับรองของผู้เขียนที่ลงชื่อแล้ว เมื่อส่งบทความหรือรายงานไปที่วารสารประตู
การสนับสนุนวารสารและสังกัดสถาบัน
วารสารประตูได้รับการสนับสนุนและจัดพิมพ์โดย โครงการวิชาการด้านศิลปะแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SAAAP) โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากมูลนิธิอัลฟาวูด
วารสารประตูได้รับการสนับสนุนโดยภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี และ ฐานข้อมูลงานวิจัยออนไลน์ (SOAS Research Online) โดย วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS, University of London)
(Thai – About)